พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ศธ.หารือภาคีเครือข่าย เตรียมเสนอยูเนสโก ประกาศยกย่อง ร.9

นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ประชุมหารือเพื่อเตรียมการเสนอยูเนสโก ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่างแผนการดำเนินงานเสนอ UNESCO (องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี

หลังจากนี้ ศธ.จะแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโก และจะนำข้อมูลจากคณะกรรมการยกร่าง และคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ กรอกเอกสารออนไลน์ตามแบบฟอร์มของยูเนสโก ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2567

หลังจากนั้นยูเนสโกจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานกลั่นกรอง และจะมีหนังสือแจ้งผลให้ประเทศสมาชิกทราบเบื้องต้น หากเพิ่มเติมข้อมูลหรือปรับแก้ไข ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 เพื่อที่จะได้ทันในการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกพิจารณาให้ความเห็นชอบในเดือนพฤศจิกายน 2568 โดยกิจกรรมเฉลิมฉลองฯ จะจัดขึ้นภายในปี 2570

นายอรรถพล สังขวาสี

“นับตั้งแต่ พ.ศ. 2505-2566 ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมาแล้ว 33 รายการ แบ่งเป็น พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ 14 พระองค์, พระภิกษุสงฆ์ 4 รูป, สามัญชน 13 คน รายล่าสุดคือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) วาระครบ 200 ปีชาตกาล ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565, เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ 2 เหตุการณ์ ได้แก่ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) และฉลองครบรอบ 700 ปี ของการสถาปนาเมืองเชียงใหม่”

ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และการดำเนินการเสนอชื่อการเฉลิมฉลองวาระครบรอบที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับงานของยูเนสโก อาทิ ต้องเป็นบุคคลหรือเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับภารกิจของยูเนสโก ในสาขาการศึกษา วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคม และมนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ส่งเสริมให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ, ต้องไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เพื่อระลึกการก่อตั้ง การรับเอกราช

รวมทั้งไม่ใช่การทหาร และการได้รับอิสรภาพ, มีความสำคัญในระดับโลก หรืออย่างน้อยในระดับภูมิภาค สะท้อนความเป็นอุดมคติ มีคุณค่า มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีความเป็นสากล, เป็นการฉลองครบรอบ 50 ปี 100 ปี หรือทุก ๆ 50 ปี และต้องได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ หรือ 1 กลุ่มภูมิภาค

ปัจจุบันยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ สมาชิกสมทบอีก 11 ประเทศ สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492 ซึ่งเป็นลำดับที่ 49 ของประเทศสมาชิก

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ vayamoto.com

แทงบอล

Releated